วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สมุนไพรรักษาโรคไต ไตวาย ไตอักเสบ รักษาโรคไตวายเรื้อรัง นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ โรคกระดูกทับเส้น ปวดหลัง ปวดเอว สมุนไพรรักษาโรคไต ไม่ต้องล้างไตหรือฝอกไต การป้องกันโรคไต


ความรู้แนวทางปฎิบัติการในการป้องกันโรคไต 
1. สมุนไพรต้องสะอาดจึงจะใช้ได้ผล 
2. สมุนไพรต้องสดไม่หมดอายุ 

ขอคำปรึกษาหมอประดิษฐ โทรศัพท์. 086 276 6956 
บ้านเลขที่ 125 หมู่20 บ้านคลองสง ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170 
E-mail : ddsamunpraithai@gmail.com 
Website: https://www.facebook.com/HerbsThailandNephrology 

หรืออ่านจากบทความนี้ 

สมุนไพรรักษาโรคไต ไตวาย ไตอักเสบ รักษาโรคไตวายเรื้อรัง นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ โรคกระดูกทับเส้น ปวดหลัง ปวดเอว สมุนไพรรักษาโรคไต ไม่ต้องล้างไตหรือฝอกไต การป้องกันโรคไต

สมุนไพรพื้นบ้านในเขตพื้นที่ป่าดงดิบอำเภอละแมจังหวัดชุมพร ใช้รักษาคนในชุมชนมาอย่างยาวนาน โดยใช้นำมาต้มดื่มเหมือนการดื่มชาร้อนๆ
รักษาโรคไต ไตอักเสบ ไตวายเรื้อรัง นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ โรคกระดูกทับเส้น ปวดหลัง ปวดเอว
สมุนไพรหมอประดิษฐหมอสมุนไพรพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงยาวนานกว่าสามสิบปี


ผู้ที่มีความเสี่ยงกับโรคไต
- โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง
- โรคไตอักเสบเนโฟรติก
- โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
- โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

อาการ
- ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ
- ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้
- ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่
- การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
- ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น
- การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดิน

ปัสสาวะ
- การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ
- การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
- การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
- อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณ หนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม

(Nephrotic Syndrome)
- ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
- ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติ ไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่

สาเหตุ
- เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย
- เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
- เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
- เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
- เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

การป้องกันโรคไตและการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคไต

เมื่อทราบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตหรือทราบว่าไตเกิดความผิดปกติถาวร ไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ แต่เราสามารถชะลอการเสื่อมของไตโดย
1.การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2.รักษาควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท และแพทย์มักเลือกใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม เอซีอีไอ (angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitor) หรือ เออาร์บี (angiotensin receptor blockers (ARBs) เป็นกลุ่มแรก อาจใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะเพื่อเสริมฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต
3.ควบคุมอาหาร ในผู้ป่วยโรคไตหากกินอาหารไม่ถูกต้องจะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นอย่างรวดเร็ว
4.อาหารโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีจำเป็นในการสร้าง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โปรตีนส่วนใหญ่มาจากเนื้อสัตว์ในผู้ป่วยโรคไต พบว่าความสามารถในการขับของเสียที่เกิดจากร่างกายเผาผลาญโปรตีนลดลง และถ้ากินโปรตีนมากก็จะมีของเสียผ่านไตมาก ไตจะทำงานหนัก มีผลให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำให้จำกัดอาหารโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวันโดยมีโปรตีนคุณภาพสูงเป็นส่วนใหญ่แต่ถ้าผู้ป่วยไม่กินอาหารโปรตีนเลยจะทำให้เกิดโทษ เกิดการขาดสารอาหาร
5.อาหารไขมันคอเลสเตอรอล การกินอาหารไขมันสูงอาจจะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น และยังมีผลทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้
6.โซเดียม พบมากใน อาหารเค็ม หรือมีเกลือเป็นส่วนประกอบ โซเดียมมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสเค็ม หรือควรได้รับเกลือไม่มากกว่า 6 กรัมต่อวัน หรือ 100 mEq ต่อวัน
7.โปแตสเซียม พบมากใน ผัก ผลไม้ ได้แก่ มันฝรั่ง กล้วย ผลไม้แห้ง ถั่วชนิดต่าง ๆ ปกติไตจะขับโปแตสเซียมส่วนเกินออกมาในปัสสาวะ แต่ในผู้ป่วยไตเสื่อมมากจะขับโปแตสเซียมออกได้ลดลง ทำให้ระดับโปแตสเซียมคั่งในเลือด เกิดอันตรายทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหยุดเต้นได้
8.ควรหยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น แต่ยังเพิ่มอัตราเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
9.การรักษาภาวะโลหิตจาง ภาวะโลหิตจาง หรือภาวะซีดจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เกิดจากไตสร้างฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่เพียงพอ



ขอคำปรึกษาหมอประดิษฐ โทรศัพท์. 086 276 6956
บ้านเลขที่ 125 หมู่20 บ้านคลองสง ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170
E-mail : ddsamunpraithai@gmail.com
Website: https://www.facebook.com/HerbsThailandNephrology

หรืออ่านจากบทความนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น